กำเนิดโลก

Posted: กันยายน 11, 2011 in Uncategorized

สร้าง Blog ด้วย WordPress

Posted: กันยายน 11, 2011 in Uncategorized

การไหว้บุคคล

Posted: สิงหาคม 6, 2011 in Uncategorized

การไหว้บุคคล

การไหว้ซึ่งกันและกันนั้นนิยมปฏิบัติเพื่อความ
เหมาะสมแก่ชั้นและวัยของบุคคลนั้น ๆ
มี ๓ แบบ คือ

๑. การไหว้บุคคลผู้มีอายุมากกว่า (เป็นผู้ใหญ่มากกว่า)
๒. การไหว้บุคคลผู้มีอายุเสมอกัน
๓. การไหว้บุคคลผู้มีอายุน้อยกว่า

  ๑. การไหว้บุคคลที่มีอายุมากกว่า

สำหรับผู้น้อยปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ โดย
ถือหลักมีชาติกำเนิดสูงกว่า มีคุณ
ธรรมความดีได้รับยกย่องให้เป็นผู้
ปกครอง บังคับบัญชา และมีอายุ
แก่กว่าตน

            การไหว้นิยมยกกระพุ่มมือขึ้นไหว้ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้วนิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่บนดั้งจมูกพร้อม
กับก้มศรีษะน้อมตัวลงพองาม สายตามองดูท่านด้วยความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตน
๒. การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกัน
นิยมยกมือกระพุ่มขึ้นไหว้ ให้ปลายนิ้ชี้อยู่
ที่ดั้งจมูก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ที่คางก้มศรีษะ
เล็กน้อยสายตามองกันและกันด้วยความหวังด
ีปราถนาดีต่อกัน

    ๓.  การรับไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสน้อยกว่า 
    สำหรับผู้ใหญ่รับไหว้ผู้น้อย นิยมยกกระพุ่ม
    มือขึ้นประนมอยู่ระหว่างอกหรือที่หน้าให้ปลาย
    นิ้วชี้อยู่ที่ตั้งจมูกปลายนิ้วอยู่ที่ดั้งจมูกปลายนิ้ว
    หัวแม่ มืออยู่ที่คางสายตามองดูผู้ไหว้ ด้วย
    ความปราถนาดี

    การไหว้ (นมัสการ)

    Posted: สิงหาคม 6, 2011 in Uncategorized
    การไหว้ (นมัสการ)  
           การไหว้พระรัตนตรัย 
    นิยมแสดงความเคารพพระรัตนตรัยด้วยการไหว้เมื่อนั่งเก้าอี้หรือยืนอยู่ มีวิธีการทำดังนี้คือ

    ๑. ประนมมือไว้ระหว่างอก
    ๒. ยกมือประนมขึ้นพร้อมกับก้มศรีษะลงเล็กน้อย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ให้ปลายนิ้วชี้
    ี้             จรดหน้าผาก ทำเพียงครั้งเดียว แล้วลดมือลงตามเดิม (ดังรูป)

      การประนมมือ (อัญชลี)

    นิยมใช้แสดงความเคารพพระรัตนตรัย ในเวลาฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ สวดพระอภิธรรม ฟังพระธรรมเทศนา         เป็นต้น

           วิธีการประนมมือ           
    ยกมือทั้งสองขึ้นประกบกัน ตั้ง เป็นกระพุ่มมือ
    ประนมไว้ระหว่างอก ให้ปลายมือตั้งขึ้น ข้างบนนิ้วมือ
    ทั้งสองข้าง ทุกนิ้วแนบชิดสนิทกัน อย่าให้เหลื่อมล้ำกัน
    อย่าให้กางห่างออกจากกัน ข้อศอกทั้งสองแนบชิดชายโครง         (ดังรูป)
                           การประนมมือนี้เป็นกิริยาอาการที่แสดงความเคารพพระรัตนตรัย จึงนิยมทำด้วยความเรียบร้อย
    ตั้งใจไม่นิยมปล่อยให้นิ้วมืองอหงิก นิยมตั้งกระพุ่มไว้ระหว่างอกเอียงกับลำตัวประมาณ ๔๕ องศา ไม่ยก
    ให้สูงจรดคางหรือจรดปาก ไม่ปล่อยปลายมือให้ตกต่ำลงมาวางอยู่ที่ท้องหรือวางไว้ที่หน้าตักหรือหัวเข่า

    3.8 การตั้งชื่อหินอัคนี (Naming igneous rock)

    หินอัคนีมักจะถูกจัดแบ่ง หรือจัดกลุ่มออกไป โดยอาศัยพื้นฐานของเนื้อหิน และส่วนประกอบของแร่ในเนื้อหินเป็นเกณฑ์ รวมทั้งอาจพิจารณาจากประวัติการเย็นตัวในขณะที่แร่ประกอบหินอัคนีก่อตัวขึ้นโดยปฏิกิริยาเคมีของหินหนืดดั้งเดิม และสภาพแวดล้อมของการตกผลึกอีกด้วย

    จากทฤษฏีของโบเวน แร่ที่ตกผลึกออกมาจากหินหนืดที่เหมือนกัน จะให้หินอัคนีประเภทเดียวกัน ดังนั้นการจัดแบ่งโดยทั่วไปจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของเนื้อ และส่วนประกอบของหิน ซึ่งแสดงไว้ในตาราง 3.3

    หินที่อยู่ทางขวา ของตาราง 3.3 ประกอบด้วยแร่ประเภทแรกที่ตกผลึกออกมาก่อน คือหินอัคนีที่เรียกว่าเพริโดไทท์ (Peridotite) ซึ่งประกอบด้วยแร่โอลิวีนเป็นส่วนใหญ่ และอยู่ในตำแหน่งเริ่มต้นของชุดปฏิกิริยาโบเวน เชื่อกันว่าเพริโดไทท์เป็นส่วนประกอบหลักของเปลือกโลกชั้นแมนเทิลส่วนบน (Upper mantle) หินที่มีแร่ตกผลึกในลำดับถัดมารองจากอัลตราเมฟิกประกอบด้วยธาตุเหล็ก และแมกนีเซียมสูง แต่มีซิลิกา (SiO2) ต่ำกว่าหินที่อยู่ถัดมา ธาตุเหล็กทำให้สีของหินเหล่านี้เข้มขึ้น และมีความหนาแน่นมากกว่าหินชนิดอื่นๆ เล็กน้อย คำว่า เมฟิก (Mafic) มาจากคำว่า แมกนีเซียม (Magnesium) และเหล็ก (Fe) ใช้สำหรับหินที่มีส่วนประกอบที่มีเหล็กและแมกนีเซียมสูง นักธรณีวิทยายังคงใช้คำว่า บะซอลติก (Basaltic) ซึ่งมาจากคำว่า หินบะซอลท์ (Basalt) (แปลว่าหินที่มีส่วนประกอบเป็นบะซอลท์) เป็นตัวชี้ หรือใช้เรียกหินอัคนีที่มีส่วนประกอบดังกล่าว หินบะซอลท์เป็นหินที่มีสีเขียวเข้ม ถึงดำมีเนื้อผลึกละเอียด ประกอบด้วยแร่ไพรอกซีน แร่เฟลด์สปาร์ชนิดที่มีแคลเซียมสูง (Calcium-rich feldspar) เป็นส่วนใหญ่บะซอลท์เป็นหินอัคนีพุ (Extrusive igneous rock) ที่พบมากชนิดหนึ่ง เกาะภูเขาไฟหลายๆ แห่ง เช่นเกาะฮาวาย และเกาะไอซ์แลนด์ ประกอบไปด้วยหินบะซอลท์ นอกจากนั้นชั้นบนของเปลือกโลกใต้มหาสมุทร (Oceanic crust) ก็ประกอบไปด้วยหินบะซอลท์เป็นส่วนใหญ่เช่นกัน

    กลุ่มหินด้านซ้ายมือของตาราง 3.3 ประกอบด้วยแร่ชุดสุดท้ายที่ตกผลึก อันได้แก่แร่หลักคือเฟลด์สปาร์ (Feldspar) และซิลิกา (Silica) หรือควอตซ์ (Quartz) ดังนั้นคำว่า เฟลสิก (Felsic) จึงเป็นคำที่นำมาใช้เรียกกลุ่มหินเหล่านี้ อันได้แก่หินแกรนิต ไรโอไลท์ เป็นต้น หินเฟลสิก ยังหมายถึงหินที่มีองค์ประกอบเป็นหินแกรนิต (Granitic composition) ด้วย

    จากตารางดังกล่าวยังมีหินอัคนีพุที่พบมากอีกชนิดหนึ่ง คือหินแอนดีไซท์ (Andesite) มีองค์ประกอบของแร่อยู่ระหว่างหินแกรนิต กับบะซอลท์ แอนดีไซท์มีเนื้อผลึกละเอียดเกิดจากภูเขาไฟ ซึ่งชื่อนี้ได้มาจากชื่อเทือกเขาแอนดีส (Andes Mountains) ในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีภูเขาไฟจำนวนมากอันประกอบไปด้วยหินชนิดนี้ นอกจากภูเขาไฟแอนดีส (Andes volcanoes) แล้ว ยังมีภูเขาไฟจำนวนมาก ที่อยู่ล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิกมีองค์ประกอบเป็นแอนดีไซท์

    3.9 หินอัคนีบางชนิด

    หินอัคนีที่จำแนกโดยอาศัยส่วนประกอบทางแร่ และเนื้อของหินนั้นมีหลายชนิด มีชื่อเรียกต่างๆ กันไปจำนวนมาก ในที่นี้จะกล่าวถึงบางชนิดเท่านั้น โดยในตอนแรกจะกล่าวถึงหินกลุ่มหลัก 6 ชนิดที่สำคัญพร้อมองค์ประกอบหินก่อน จากนั้นจึงกล่าวถึงหินที่มีความสำคัญอันดับรองในลำดับต่อไป ชื่อของหินในกลุ่มหลักทั้ง 6 ชนิดตั้งขึ้นตามลักษณะการตกผลึก ส่วนหินภูเขาไฟที่มีเนื้อเป็นเศษหินได้กล่าวแยกไว้อีกหัวข้อหนึ่ง

    3.9.1 หินอัคนีที่เกิดจากการตกผลึก (Crystalline igneous rock)

    โดยทั่วไปแล้วการแบ่งกลุ่มหินภูเขาไฟ และหินอัคนีระดับลึกออกเป็น 3 กลุ่ม จะยึดตามหินหนืดตั้งต้นที่ต่างกันไป 3 แบบ ได้แก่ หินแกบโบร์ (Gabbro) และบะซอลท์เกิดขึ้นที่อุณหภูมิสุงจากหินหนืดที่มีองค์ประกอบเป็นเมฟิก หินไดออไรท์ (Diorite) และแอนดีไซท์เกิดขึ้นที่อุณหภูมิปานกลางจากหินหนืดที่มีองค์ประกอบถัดลงมา หรืออินเทอร์มีเดียท และหินแกรนิต และไรโอไลท์ (Rhyolite) เกิดที่อุณหภูมิต่ำกว่าจากหินหนืดที่มีองค์ประกอบเป็นเฟลซิก

    1). หินเฟลสิก (Felsic rock)

    หินแกรนิต (Granite) (ต้นกำเนิดของชื่อนี้เป็นชื่อเก่าแก่ซึ่งไม่ทราบที่มา บางคนเชื่อว่า มาจากคำคุณศัพท์ในภาษาอิตาเลียน ที่ว่าแกรนิตา (Granita) ซึ่งแปลว่าเป็นเม็ด (Grained) หินชนิดนี้มีสีจาง ปกติเป็นหินอัคนีระดับลึกที่มีผลึกขนาดหยาบ ถึงละเอียดมีแร่โพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ และโซเดียมแพลจิโอเคลส เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ แร่ควอตซ์ (Quartz) ปกติปรากฏให้เห็นในปริมาณ 25% เป็นแร่ที่ตกผลึกในช่วงสุดท้ายของการเย็นตัวของหินหนืด สีเทา ลักษณะกลม ถึงเม็ดขรุขระ อยู่ในช่วงว่างระหว่างแร่ที่เกิดขึ้นก่อน แร่มัสโคไวท์ (Muscovite) ก็พบได้เสมอในหินแกรนิตทั่วไป แร่ที่มีสีดำ เช่น แอมฟิโบล (Amphibole) และไบโอไทท์ (Biotite) พบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

    เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ลักษณะเด่นของหินชนิดนี้คือเป็นจุด หรือมีมลทิน มีพื้นสีขาว หรือเทา ของแร่เฟลด์สปาร์ และแร่ควอตซ์ และทำให้มีลวดลายเลื่อมแพรวพราวด้วยสีดำของแผ่นแร่ไมกา (Mica plate) และแร่ฮอร์นเบลนด์ (Hornblende) ที่เป็นผลึกรูปเข็ม ในหินเนื้อหยาบ แร่บางชนิด (แร่เฟลด์สปาร์เป็นส่วนใหญ่) อาจมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 1 เซนติเมตร (0.4 นิ้ว) หรือมากกว่านั้นได้

    แกรนิตเป็นหินอัคนีที่รู้จักกันดี และพบมาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมีเนื้อที่สวยงามตามธรรมชาติ และจะสวยยิ่งขึ้นเมื่อขัดเงาแล้ว ประกอบกับทนทานนานนับพันๆ ปี ดังนั้นจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง แผ่นหินแกรนิตขัดมันมักจะใช้เป็นหินบอกชื่อผู้ตายปากหลุมฝังศพ (Tombstone) อนุสาวรีย์ หินสำหรับก่อสร้างอาคาร ปราสาทราชวัง และหินประดับตกแต่งสถานที่ต่างๆ รวมทั้งทำรูปแกะสลักได้ด้วย หินแกรนิตมักเกิดขึ้นโดยกระบวนการก่อเทือกเขา (Mountain building) นอกจากนั้นยังมีความคงทนต่อการผุพังอยู่กับที่ (Weathering) และการกร่อน (Erosion) อีกด้วย จึงมักพบเหลืออยู่เป็นแกนกลางของภูเขา โดยส่วนอื่นถูกกัดกร่อนออกไป เช่น ในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ ไพส์พีค (Pikes Peak) ในเทือกเขารอกกี (Rockies) ภูเขารัชมอร์ (Mount Rushmore) ในแบลคฮิล (Black Hills) ไวท์เมาเท่น (White mountain) ของรัฐนิวแฮมเชียร์ (New Hampshire) สโตนเมาเทน (Stone mountain) รัฐจอร์เจีย และอุทยานแห่งชาติโยเซไมท์ (Yosemite National Park) ในเซียราเนวาดา (Sierra Nevada) ส่วนเมืองไทยเช่นที่ เทือกเขาขุนตาลเป็นต้น

    หินไรโอไลท์ (Rhyolite) ไรโอไลท์เป็นคำที่มาจากภาษากรีก แปลว่ากระแสของลาวาที่ไหลเชี่ยว (Lava torrent) หรือ ลำธาร + หิน (Stream + Stone) ไรโอไลท์ เป็นหินภูเขาไฟที่มีองค์ประกอบอยู่ช่วงเดียวกันกับหินแกรนติ แต่เนื้อหินจะแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง โดยปกติเป็นผลึกขนาดละเอียด เนื้อแก้ว หรือมีเนื้อดอก (Porphyrite) ถ้าเป็นเนื้อดอกกราวด์แมส (Groundmass) อาจมีเนื้อแก้วมาก หรือมีขนาดผลึกละเอียดซึ่งแร่ต่างๆ สามารถจำแนกได้ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ช่วยเท่านั้น แร่ดอก (Phynocryst) ที่มีขนาดเล็กมักจะเป็น แร่โซดิกแพลจิโอเคลส ควอตซ์ ไบโอไทท์ และแร่เฟร์โรแมกนีเซียนอื่นๆ จำนวนเล็กน้อย ควอตซ์สามารถตกผลึกออกมาก่อนระหว่างการเกิดหินไรโอไลท์ ดังนั้นจึงมักพบผลึกที่มีลักษณะสมบูรณ์ โดยหน้าผลึกจะเป็นรูปพีระมิดทั้งด้านหัวด้านท้าย

    หินไรโอไลต์ปกติมีสีจาง อาจเป็นสีขาวถึงเทาออ่นหรือแดง เข้มหรือจางแตกต่างกันไป ลักษณะเฉพาะในเนื้อ
    หินชนิดนี้ประการหนึ่งคือ การแสดงแนวเส้นที่เรียกว่า แนวชั้นของการไหล ( Flow banding ) ชื่อดังกล่าว
    มาจาก แถบที่แสดงถึงความเข้มข้นของวัตถุที่มีสีหรือชั้นของแก้วที่เกิดขึ้นระหว่างการไหลของลาวาที่มีความหนืดสูงมาก ลักษณะที่แสดงให้เห็นในหินจะบ่งบอกถึงการไหลที่ช้ามากของลาวา ดังเช่นการไหลของน้ำตาลที่ข้นและหนัก

    หินหนืดของไรโอไลต์เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว ทำให้แร่ต่างๆไม่มีโอกาสตกผลึกออกมาได้ดังนั้นจะได้แก้วภูเขาไฟ ( Volcanic glass ) ( กล่าวรายละเอียดไว้ในเรื่องเนื้อหิน ส่วนที่เป็นหินออบซิเดียนแล้ว ) แก้วชนิด
    นี้เกิดขึ้นโดยการข้ามช่วงการตกผลึกซึ่งเป็นช่วงที่ยาวมาก ในทางธรณีวิทยาถือว่าเกิดขึ้นจากการเย็นตัวของหินหนืดเร็วกว่าปกติถึง 2 เท่า แก้วอุตสาหกรรมที่ใช้ทำกระจกทั่วไปชนิดไม่มีสีเพราะไม่ได้เจือโลหะเข้าไปด้วย ส่วนแก้วหินออบซิเดียนจะมีสิ่งเจือปนมากจึงมักพบเป็นสีดำหรือสีแดงบ้าง

    แก้วภูเขาไฟอาจเกิดการตกผลึกอย่างชามากที่ผิวโลกในช่วงระยะเวลาอันยาวนานได้ไอออนในหินออบซิเดียน
    จะแพร่ไปในของแข็ง ( ในบริเวณที่มีน้ำอยู่ ) และตกผลึกในลำดับต่อมาโดยเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้ผลึกขนาดเล็กเท่านั้น เรียกว่าการเปลี่ยนสภาพแก้วผลึกเป็นผลึก ( Devitrifica tion ) หินที่ได้เรียกว่าหินออบซิเดียนที่เปลี่ยนไปเป็นผลึกหรือแก้วที่เปลี่ยนเป็นผลึก ( Devitri fied obsidian or Devitrified glass )
    ผลึกที่เกิดขึ้นมักเป็นแร่ควอรตซ์และเฟลด์สปาร์ 

    หินพัมมิซ ( Pumice ) ( เป็นคำเก่า มาจากภาษากรีก แปลว่าตัวหนอนที่กินได้ และเป็นคำที่ใช้กันมานานตั้งแต่ 325 ปี ก่อนคริสศักราชแล้ว โดยนักปราชญ์และนักธรรมชาติวิทยาชื่อธีโอเฟรตุส ( Theophratus )
    พัมมิซเป็นหินชนิดพิเศษของแก้วภูเขาไฟที่มีเนื้อเป็นไรโอไลต์มีลักษณะค่อนข้างคล้ายกับฟองที่กลายเป็นหิน
    หรือคล้ายกับฟองเบียร์ เนื่องจากมีช่องว่างของฟองแก๊สจำนวนมากเนื้อหินจึงเต็มไปด้วยรูพรุน และมีน้ำหนักเบา หินพิมมิซบางก้อนลอยน้ำได้ถ้าพัดพาออกจากฝั่งทะเลหรือจากภูเขาไฟในมหาสมุทร จะลอยไปไกลเป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตรก่อนที่จะชุ่มหรืออิ่มน้ำ และจมลงก้นทะเลในที่สุด

    2) หินอินเทอร์มีเดียท ( lntermediate rock ) 
    หินไดออไรต์ ( Diorite ) หินอัคนีระดับลึกที่มีเนื้อผลึกหยาบถึงละเอียด มีส่วนประกอบของแร่ในหินอยู่ระหว่างแกรนิตกับแกบโบร ( Gabbro ) ชื่อหินมาจากคำในภาษากรีกแปลว่า แบ่งส่วน ( Divide ) ซึ่งมีส่วนประกอบจะอยู่ตรงกลางระหว่งหิน 2 ชนิดดังกล่าว มีแร่แพลจิโอเคลสอินเทอร์มีเดียทหรือแพลจิโอเคสที่มีองค์ประกอบอยู่กึ่งกลางของอนุกรมแบบต่อเนื่องของโบเวนเป็นส่วนประกอบหลัก มีแร่ควอรตซ์ 
    แร่โพแทสเฟลด์สปาร์ อยู่จำนวนน้อย แร่ฮอร์นเบลนด์ เป็นแร่ที่เด่นและมีสีเข้ม แร่ไบโอไทต์มีมากเช่นกัน
    แร่สีเข้มมีมากเท่าๆกับแร่เฟลด์สปาร์ ด้วยเหตุที่หินประกอบด้วยแร่ควอรตซ์ และโพแทสเฟลด์สปาร์ และมี
    ปริมาณของแร่แพลจิโอเคลส กับแร่เฟร์โรแมกนีเซียนจำนวนเท่าๆกัน หินไดออไรด์ จึงมีสีเทาทึบไม่น่าดูการใช้ประโยชน์จากหินชนิดนี้จึงไม่กว้างขวางเท่าหินแกรนิต

    หินแอนดีไซต์ ( Andesite ) ชื่อนี้ได้มาจากการเกิดของหินในภูเขาไฟที่อยู่บนยอดเขาแอนดีส ทวีปอเมริกาใต้ 
    โดยทั่วไปมีสีเทาถึงดำปนเทาเป็นหินภูเขาไฟที่มีเนื้อละเอียดปกติเป็นเนื้อดอก ( Porphyritic ) โดยทั่วไปไม่สามารถมองเห็นแร่ควอรตซ์ได้ด้วยตาเปล่า แร่เฟลด์สปาร์ที่เป็นหลักคือ อินเทอร์มีเดียทแพลจิโอเคลส และและแร่สีเข้มได้แก่ แร่ออไจต์ ( Augite ) แร่ฮอร์นเบลนด์และแร่ไบโอไทต์ แร่ชนิดเดียวกันนี้ จะเกิดขึ้นเป็นแร่ดอกได้เช่นกันในหินที่มีเนื้อผลึก 2 ขนาดหินแอนดีไซด์โดยปกติมีองค์ประกอบอยู่ในช่วงกลางเช่นเดียวกับอัคนีระดับลึกที่มีอยู่คู่กัน คือ หินไดออไรต์ หินที่มีเนื้อเป็นแอนดีไซต์ ( Andesitic rocks ) มีจำนวนมากมายในเปลือกโลกมากว่าหินไรโอไลต์ แต่มีน้อยกว่าหินบะซอลต์

    3 ) หินเมฟิก ( Mafic rock ) 
    หินแกบโบร ( Gabbro ) แกบโบรเป็นชื่อเก่าแก่ของหินที่มีสีเข้ม ที่ใช้ในพระราชวัง และโบสถ์ สมัยเรเนซองค์ ( Renaissance ) ในอิตาลี เป็นหินอัคนีระดับลึกที่ประกอบด้วยผลึกหยาบและประสานกันของ
    แร่ไพรอกซีน ( Pyroxene ) และแคลซิกแพลจิโอเคลสเป็นหลัก หินแกบโบรจำนวนมากประกอบด้วยแร่โอลิวีนและบางทีอาจพบแร่ฮอร์รเบลนด์ด้วย แต่จำนวนน้อยซึ่งต่างจากหินไดออไรด์และแกรนิต คือแกบโบรมีแร่เฟร์โรแมกนีเซียนจำนวนมากกว่าแร่เฟลด์สปาร์ มีข้อยกเว้นคือหินแกบโบรชนิดที่เรียกว่าหินอะนอร์โทไซต์
    ( Anorthosite ) จะประกอบด้วยแร่แคลซิกแพลจิโอเคลสเป็นส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด ซึ่งเกิดเป็นผลึกปนะสานกันเป็นเนื้อหยาบแกบโบรชนิดอื่นที่พบมากและนำมาตกแต่งในการก่อสร้าง เช่นแต่งหน้าร้านหรือธนาคาร ประกอบด้วยผลึกแร่แพลจิโอเคลสที่มีสีม่วงเข้มขนาดใหญ่ ซึ่งให้สีที่เล่นแสงได้น่าประทับใจมากเหมือนสีหางนกยูง

    หินบะซอลต์ ( Basalt ) บะซอลต์เป็นชื่อเก่ามากอีกชื่อหนึ่งในวิชาธรณีวิทยา เริ่มใช้กันตั้แต่สมัยอิปต์ และ
    เอธิโอปิก ( Ethiopic ) หลักฐานอ้างอิงที่เกี่ยวกับ คำๆ นี้คือถูกตั้งขึ้นโดยพลินี ( Pliny ) ผู้พี่ บะซอลต์
    เป็นหินภูเขาไฟที่พบมากอีกชนิดหนึ่งในหลายๆ เขตของโลกเช่นบริเวณขอบที่ราบสูงแม่น้ำโคลัมเบีย
    ( Columbia River ) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตัวอย่างหนึ่งที่มีการไหลท่วมอย่างสมบูรณ์ ของลาวาบะซอลต์เป็นบริเวณกว้าง ปริมาณของหินบะซอลต์ในที่ราบสูงโคลัมเบีย
    ( Columbia Plateau ) ประมาณกันว่ามี 307,200 ลูกบาศก์ตารางกิโลเมตร ( 73,701 ลูกบาศก์ไมล์ )
    นอกจากนี้ เกาะกลางมหาสมุทรหลายแห่ง เช่น ซามัว (Samoa) ฮาวาย และตาฮิติ (Tahiti) เป็นภูเขาไฟที่ประกอบด้วยหินบะซอลท์ซึ่งเป็นหินอัคนีที่วางตัวอยู่ใต้ตะกอนของมหาสมุทร ประเทศไทยพบหลายแห่ง เช่นที่ลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี อ.สบปราบ จ.ลำปาง อ.ท่าใหม่ และ อ.ขลุง จ.จันทบุรี อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี เป็นต้น

    หินบะซอลท์จะพบได้โดยทั่วไป และเห็นได้ชัดเจน กล่าวคือพบอยู่ท่ามกลางหินภูเขาไฟอื่นๆ บะซอลท์ที่ไม่ผุจะมีสีดำเหมือนถ่านถึงเทาดำ และมีเนื้อผลึกละเอียด มีแร่หลัก 2 ชนิดคือ แร่ไพรอกซีน และแคลซิกแพลจิโอเคลส บะซอลท์หลายชนิดมีแร่โอลิวีนปนอยู่ด้วย แร่ชนิดใดชนิดหนึ่งของ 3 ชนิดที่กล่าวมา อาจเป็นแร่ดอกในหินบะซอลต์ชนิดที่มีเนื้อดอกได้ เนื้อหินบะซอลต์อาจมีลักษณะคล้ายฟอง และเป็นโพรงเล็กๆ หรือรูจำนวนนับไม่ถ้วนที่เรียกว่า เวสสิเคิล (Vesicle) เกิดขึ้นจากฟองกาซที่ถูกกักอยู่ในลาวาในขณะที่แข็งตัวโครงสร้างดังกล่าวอาจจะไม่เรียกว่าหินบะซอลต์ก็ได้ แต่อาจใช้คำซึ่งเป็นคุณศัพท์เรียกแทนได้คือสคอเรียเชียส (Scoriaceous)

    หินที่มีองค์ประกอบเป็นบะซอลต์ที่พบได้ทั่วไปอีกชนิดหนึ่งคือ หินไดอะเบส (Diabase) ซึ่งประกอบด้วยแร่ลาบราดอไรท์ (Labradorite) และไพรอกซีน โดยมีผลึกแร่ไพรอกซีนหุ้มผลึกแร่ลาบราดอไรท์เข้าไว้ ขนาดของผลึกแร่ใหญ่กว่าที่พบในหินบะซอลต์ แต่เล็กกว่าที่พบในหินแกบโบร มีสีเขียวแก่เกือบดำ พบเกิดเป็นพนัง คำนี้ใช้เรียกกันในสหรัฐอเมริกา ในอังกฤษ เรียกว่า หินโดเลอไรท์ (Dolerite)

    หินไดอะเบสมีผลึกแร่แคลซิกแพลจิโอเคลสที่เป็นแผ่น และเกิดขึ้นเป็นผลึกประสานกัน ช่องว่างระหว่างผลึกต่างๆ มีแร่ไพรอกซีนเข้าไปแทรกอยู่ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง ไดอะเบสมีผลึกหยาบเนื่องจากการเย็นตัวอย่างช้าๆ ของหินหนืดที่อยู่ไม่ลึกมากเมื่อเทียบกับความหนาทั้งหมดของหินหนืด

    หินบะซอลต์จะหลอมได้ก็ต่อเมื่อมีอุณหภูมิสูง และเนื่องจากองค์ประกอบทางเคมีทำให้มีความหนืดต่ำ และไหลได้อย่างรวดเร็วกว่าหินหนืดที่มีองค์ประกอบเป็นเฟลสิก ดังนั้นเมื่อลาวาของบะซอลท์เกิดขึ้นจับตัวกับเป็นกลุ่มก้อน และหยุดการไหล มันยังคงหลอมอยู่ยกเว้นบริเวณที่ผิวภายนอกเท่านั้นที่แข็งตัว ขณะที่ธารลาวาเย็นตัวลง และเริ่มตกผลึกจากภายนอกเข้าไปข้างใน มันจะรัดตัวหดเข้าไป และแรงดัน หรือความเค้นที่เพิ่มขึ้นในแนวราบที่ขนานกับด้านบนและด้านล่างของพื้นผิวที่กำลังเย็นตัวลงขณะการตกผลึกดำเนินไปนั้นจะทำให้เกิดรอยแยก (Joint) ขึ้นในแนวดิ่งจวนมาก หรือเริ่มเกิดรอยแตกร้าว (Fracture) ขึ้นด้วย ในลาวาที่มีรูปร่างเป็นแผ่นที่พบทั่วไปรอยแตกร้าวดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะมีระยะห่าง และทิศทางไม่แน่นอน อาจมีรูปร่างหลายเหลี่ยม (ปกติมี 4-8 เหลี่ยม) เป็นแท่งปริซึมที่ตั้งขึ้นในแนวดิ่ง หรือเป็นเสาซึ่งดูแล้วเหมือนกับเสารั้วขนาดยักษ์ ที่มัดรวมเข้าด้วยกัน หรือกองหญ้าฟาง เมื่อเสาหินทั้งหลายอยู่ชิดติดกันมาก ถ้ามองด้านบนจะคล้ายกระเบื้องปูห้องน้ำรูป 6 เหลี่ยม การแตกออกลักษณะดังกล่าวเรียกว่า รอยแยกรูปเสา (Columnar jointing) และพบมากในหินประเภทบะซอลท์ แต่ก็ไม่ได้จำกัดว่าเกิดเฉพาะในหินบะซอลต์เท่านั้น ถ้าสภาพเหมาะสม หินหนืดที่เป็นแผ่นใดๆ ก็สามารถเกิดรอยแยกรูปเสาได้ในขณะที่มีการตกผลึก ตัวอย่างของรอยแยกรูปเสาที่ถือว่างดงามที่สุดในโลกอยู่ที่ ดิวิลส์โพสไพล์ (Devile Postpile) ในเทือกเขาเซียรา เนวาดา (Sierra Nevada Range) ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และฟิงกอลส์เคฟ (Fingal’s Cave) ในสกอตแลนด์

    สำหรับในตาราง 3.4 จะเห็นว่ายังมีหินที่เกิดจากการตกผลึกนอกจาก 6 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้น แต่เป็นหินที่พบได้ไม่แพร่หลายมากนัก จึงไม่กล่าวรายละเอียด ได้แก่ หินไซอีไนส์ (Syenite) เป็นหินอัคนีระดับลึก ประกอบด้วยแร่โพแทสเซียม หรือโซเดียมเฟลด์สปาร์ ชนิดออร์โทเคลส ไมโครไคลน์ หรือเพอร์ไทท์ เป็นหลัก มีแร่แพลจิโอเคลสส่วนน้อย และไม่มีแร่ควอตซ์ หินแทรไคท์ (Trachyte) เป็นหินอัคนีพุที่มีเนื้อละเอียด มีส่วนประกอบเช่นเดียวกับหินไซอีไนท์โดยทั่วไปมักแสดงลักษณะเนื้อดอกโดยมีผลึกแร่แอลคาไลเฟลด์สปาร์ และฮอร์นเบลนด์ หรือไพรอกซีน เป็นแร่ดอกฝังอยู่ในเนื้อ ซึ่งมีแร่แอลคาไลเฟล์ดสปาร์ขนาดเล็กมากเรียงตัวขนานกันเป็นพื้น สำหรับหินกลุ่มที่มีแร่เฟร์โรแมกนีเซียนมากที่สุดคือกลุ่มหินอัลตราเมฟิก ซึ่งจะไม่มีแร่เฟลด์สปาร์ และแร่ควอตซ์ปนอยู่เลย ในเชิงเคมีพบว่าซิลิกา (SiO2) ปนอยู่ต่ำกว่า 45% กลุ่มนี้มักถูกเรียกชื่อตามองค์ประกอบหลัก คือหินเพริโดไทท์ (Peridoite) เป็นหินที่มีเนื้อหยาบ ประกอบด้วยแร่โอลิวีนเป็นส่วนใหญ่ มีแร่สีเข้มอื่นๆ ปนบ้าง เช่นแร่ไพรอกซีน แร่แอมฟิโบล หรือแร่ไมกา หินคิมเบอร์ไลท์ก็จัดอยู่ในกลุ่มหินเพริโดไทท์ หินดูไนท์ (Dunite) คือหินเนื้อหยาบที่มีแร่โอลิวีนปนมากเกิดกว่า 90% หินไพรอกซีไนท์ (Pyroxenite) เป็นหินเนื้อหยาบที่ประกอบด้วยแร่ไพรอกซีนเป็นส่วนใหญ่ มีแร่ฮอร์นเบลนด์ แร่ไบโอไทท์ หรือแร่โอลิวีนปนอยู่บ้าง และหินฮอร์นเบลนไดท์ (Hornblendite) คือหินเนื้อหยาบที่มีแร่ฮอร์นเบลนด์เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ จะเห็นว่าหินอัลตราเมฟิกล้วนมีเนื้อหยาบทั้งสิ้น ซึ่งดูเหมือนว่าหินหนืดที่ให้หินกลุ่มนี้ไม่ได้ขึ้นมาแข็งตัวที่ผิวโลก จากการทดลองพบว่า หินกลุ่มนี้จะหลอมได้ต้องอยู่ในสภาพอุณหภูมิสูงมากเกือบ 2,000 องศาเซลเซียส ซึ่งแสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิสูงมากของหินหนืดไม่สามารถคงที่อยุ่ได้เมื่อหินหนืดนั้นเคลื่อนที่ขึ้นมายังผิวโลก นักธรณีวิทยาจึงเชื่อว่าหินอัลตราเมฟิกส่วนใหญ่เกิดขึ้น ณ บริเวณที่ลึกมากจากผิวโลก และน่าจะเกิดในชั้นแมนเทิลด้วยซึ่งจากผลการทดลองที่สนับสนุนความเชื่อนี้คือ แร่บางชนิดเกิดขึ้นได้เฉพาะในสภาวะความดันสูงมากเท่านั้น ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าบริเวณที่พบหินอัลตราเมฟิกบนผิวโลกเป็นบริเวณที่ชิ้นส่วนของวัตถุชั้นแมนเทิลได้หลุดขึ้นมายังผิวโลกในลักษณะหินแข็ง

     

    การทำโครงงาน

    Posted: สิงหาคม 6, 2011 in Uncategorized

    การทำโครงงาน

    1. กำหนดปัญหา หัวข้อเรื่อง

    2. ตั้งสมมุติฐาน หรือคำตอบชั่วคราว

    3. ออกแบบการศึกษาค้นคว้า การทดลอง

    4. ลงมือปฏิบัติ

    5. สรุปผลโดยการจัดทำ รายงานโครงงาน……อาจมีปัญหาใหม่เกิดขึ้น…….

    6. นำเสนอผลงาน ประเมินผล

    7. จัดนิทรรศการ ส่งประกวด

    หัวข้อการ เขียนรายงานโครงการ

    1. โครงงานกลุ่มสาระการ เรียนรู้…………..เรื่อง…………..

    2. ผู้จัดทำ………… อาจารย์ที่ปรึกษา…………..โรงเรียน………สังกัด…….ระดับ ชั้น….

    3. บทคัดย่อ

    4. กิตติกรรมประกาศ

    5. บทที่ 1 บทนำ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน……..วัตถุประสงค์……..สมมุติฐานของการ ศึกษาค้นคว้า……ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า……..ตัวแปรที่เกี่ยว ข้อง……….. (ถ้ามี)….

    6. บทที่ 2 เอกสารที่ เกี่ยวข้องกับการทำโครงงานเรื่องนี้

    7. บทที่ 3 อุปกรณ์ วิธีดำเนินการศึกษา

    8. บทที่ 4 ผลการศึกษา และอภิปรายผล

    9. บทที่ 5 สรุปผล ประโยชน์ ข้อเสนอแนะ

    10. เอกสารอ้างอิง

    11. หมายเหตุ : ตัวอย่างโครง งานเป็นของนักเรียน จึงมีรูปแบบหลากหลายตามความสามารถของนักเรียนแต่ละระดับชั้น

    เคล็ดลับวิธีให้คนรักกลับมาหาเรา

    หาของใช้ส่วนตัวของคนรักมา 2 ชิ้น ไม่ควรเป็นของมีค่าเพราะจะต้องทิ้งไป เมื่อหาได้แล้วให้ทำตามวิธีดังต่อไปนี้
    ให้นำของชิ้นแรกไปวางไว้เบื้องหน้าเรา มือซ้ายถือของชิ้นที่สองให้แน่น แล้วแบมือขวายื่นออกไปข้างหน้า จากนั้น

    1. งอนิ้วโป้งเข้ามา แล้วพูดชื่อของคนรัก
    2. งอนิ้วกลางเข้ามา แล้วพูดชื่อของคนรัก
    3. งอนิ้วก้อยเข้ามา แล้วพูดชื่อของคนรัก
    4. งอนิ้วชี้เข้ามา แล้วพูดชื่อของคนรัก
    5. งอนิ้วนางเข้ามา แล้วพูดชื่อของคนรัก
    เมื่อเสร็จแล้วให้แบมือทำซ้ำใหม่ไปเรื่อย ๆ จนครบ 10 รอบ โดยในขณะที่ทำพิธีอยู่ควรตั้งจิตใจให้แน่วแน่และมีสมาธิ มีศรัทธาอย่างแรงกล้าเพื่อที่ผลออกมาจะได้สมตั้งใจ และเมื่อท่านทำครบ 10 รอบแล้วให้ใช้มือจับของทั้ง 2 สิ่งไว้รวมกัน แล้วเดินไปทางทิศที่บ้านของคนรักอยู่ นับไป 107 ก้าว แล้วยกของสิ่งนั้นขึ้นมาระหว่างหัวคิ้วแล้วโยนออกไปข ้างหน้า แล้วหันหลังเดินกลับทันที หลังจากนั้นคนรักของคุณก็จะกลับมาหาคุณตามที่คุณต้องการ
    หมายเหตุ : วิธีทำให้คนรักกลับมาหาเรานั้น จะใช้ได้เฉพาะกับคู่รักที่เข้าใจผิดกัน หรือเพิ่งแยกกันอยู่ได้ไม่นาน วิธีนี้ไม่สามารถใช้กับคู่รักที่จากกันเป็นระยะเวลาน านแล้ว หรือไปมีคนแฟนใหม่ หรือการจากกันเพราะว่ามีคู่ครองอยู่ก่อนหน้าแล้ว

    วิธีทำให้หายจากอาการที่เรียกว่า Broken Heart (อกหัก) ทำได้ดังต่อไปนี้1. ให้หมกตัวอยู่แต่ในห้อง ไม่ต้องออกไปไหน ห้ามพบปะผู้คน

    2. ฟังเพลง ดูหนัง อ่านหนังสือที่ช่วยเพิ่มความเจ็บปวดให้ได้มากที่สุด

    3. โทรไปหาเพื่อนที่ไม่ประสงค์ดี ให้มันสมน้ำหน้า เอาที่ปากจัดๆ หน่อยจะดีมาก

    4. อดข้าว อดน้ำ แต่..ต้องอาบน้ำนะ มันสกปรก!

    5. ร้องไห้ฟูมฟาย ร้องเยอะๆ ร้องหนักๆ ร้องดังๆ ก็ได้ ถ้าไม่กลัวโดนจับส่งโรงบาลบ้า

    ให้ทำทั้ง 5 ข้อนี้อย่างเคร่งครัดเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน

    ผลการทดลองจากกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการอกหัก สถาบัน WHO พบว่า กลุ่มตัวอย่างจะสามารถปฏิบัติทั้ง 5 ข้อได้แค่เวลาเพียง 2 วัน เนื่องจาก หิว และเหนื่อย สถาบัน WHO ได้ค้นพบว่าบุคคลที่มีอาการอกหัก มักจะพยายามปลอบใจตัวเอง พยายามหลีกเหลี่ยงอาการเศร้าซึม พยายามร่าเริง พยายามข่มความเจ็บปวด พยายามที่จะลืม แต่ก็มักจะพบว่าสิ่งที่พยายามส่วนใหญ่จะล้มเหลว

    วิธีทั้ง 5 ข้อนี้เป็นวิธีที่เรียกว่า “ปฏิบัติการเจ็บสุดติ่ง” คือ ทำให้เจ็บและเศร้าให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อยู่กับความเจ็บให้นานที่สุด แล้วสุดท้ายเราจะพบว่า…”แล้วตรูจะมานั่งเสียใจทำไมวะ เหนื่อยชิบ” แล้วตรูจะหายไมว้าเนี่ยย

    เราก้อเหมือนกานและ(รึป่าว)
    เมื่อก่อนเราก้อคุยกะผุ้ชายคน1มาโดยตลอด
    แต่พอมาวัน1
    เราโทไปหาเค้า
    แต่เค้าก้อตัดสายเราไปทุกที
    จนมารุอีกทีเขาก้เลิกกับเรา
    สำหรับเรานั
    วิธีแก้คือ
    ไปร้องเพลง
    ร้องให้มันเสียงแฮบไปเลย
    แล้วก้อเก็บของทุกอย่างที่เป็นของแฟนเก่า
    ทิ้งไปให้หมด
    แล้วก้อไม่ต้องมานั่งจดจำเอาไว้……….